จิตวิทยากับการศึกษา

จิตวิทยาเป็นการศึกษาเกี่ยวกับการปรับตัวของมนุษย์ที่มีต่อสิ่งแวดล้อมทฤษฎีพัฒนาการทฤษฎีทางบุคลิกภาพของบุคคลในระดับอายุต่างๆตั้งแต่ก่อนวัยทารกคือหลังจากมีปฏิสนธิสู่วัยทารกวัยเด็ก วัยรุ่นตอนต้นตอนปลาย วัยผู้ใหญ่และวัยชราที่จะมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลรอบข้างล้วนแต่เป็นเรื่องของการปรับตัวทั้งสิ้น

การศึกษา การศึกษานั้นเป็นเรื่องของการสร้างคนเพื่อพัฒนาไปสู่สิ่งที่ดีงามและเปลี่ยนแปลงสถานะภาพทางสังคมได้จิตวิทยาจะช่วยบุคคลในเรื่องของการปรับตัวเรียนรู้ที่จะอยู่ในสังคมได้อย่างเป็นสุขตามอัตภาพทำอย่างไรที่จะช่วยให้เด็กและบุคคลสามารถปรับตัวที่จะอยู่ในสังคมยุคปัจจุบันได้อย่างพอดีจิตวิทยากับการศึกษา จึงเป็นส่วนหนึ่งของเนื้อหาสาระทั้งสองสาขาวิชาที่บูรณาการเข้าด้วยกันทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติการทดลอง

สาขาวิชาต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับจิตวิทยาการศึกษาจิตวิทยามีขอบข่ายกว้างขวางและมีส่วนเกี่ยวข้องกับสาขาวิชาอื่นๆ ดังนี้

1. จิตวิทยา (Psychology) คือศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์และสัตว์การศึกษาค้นคว้าทางจิตวิทยาในปัจจุบันใช้วิธีการวิทยาศาสตร์ซึ่งมักมีการรวบรวมข้อมูลอย่างมีเกณฑ์ระเบียบแบบแผนจากการศึกษานี้เองทำให้สามารถนำผลที่ได้จากการศึกษามาใช้เป็นประโยชน์ในจิตวิทยาการศึกษา

2. จิตวิทยาพัฒนาการ (Developmental Psychology) เป็นการค้นคว้าถึงการเจริญเติบโตและพัฒนาการของมนุษย์ตั้งแต่เริ่มปฏิสนธิจนถึงวัยชรารวมทั้งอิทธิพลของพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาการและลักษณะความต้องการความสนใจของคนในวัยต่างๆ ซึ่งอาจแบ่งเป็นจิตวิทยาเด็ก จิตวิทยาวัยรุ่นและจิตวิทยาวัยผู้ใหญ่

3. จิตวิทยาสังคม (Social Psychology) เป็นการศึกษาค้นคว้าถึงพฤติกรรมของมนุษย์ที่มีต่อปรากฏการณ์ต่างๆทางสังคม จิตวิทยาสังคมเกี่ยวพันถึงวิชา โดยเฉพาะอย่างยิ่งสังคมวิทยา (Sociology) และมนุษย์วิทยารวมทั้งเกี่ยวกันถึงสิ่งต่างๆ ในชีวิตประจำวันของมนุษย์อย่างมากเป็นต้นว่าการเมือง ศาสนา เศรษฐศาสตร์ สุขภาพจิตการศึกษาค้นคว้าทางจิตวิทยาแขนงนี้ นอกจะศึกษาพฤติกรรมของบุคคลที่มีต่อปรากฏการณ์ต่างๆ ทางสังคมแล้ว ยังเป็นการค้นคว้ากฎเกณฑ์ต่างๆเพื่อพยากรณ์และควบคุมพฤติกรรมเหล่านั้นด้วย

4. จิตวิทยาปกติ (Abnormal Psychology) เป็นการศึกษาถึงความผิดปกติต่างๆ เช่น โรคจิตและโรคประสาทความผิดปกติอันเนื่องจากความเครียดทางจิตใจ เป็นต้น

5. จิตวิทยาประยุกต์ (Applied Psychology) เป็นการนำความรู้และกฎเกณฑ์ทางจิตวิทยาแขนงต่างๆ มาดัดแปลงใช้ให้เกิดประโยชน์ หรือนำไปใช้แก้ปัญหาเกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์เช่นนำไปใช้ในการรักษาพยาบาล การให้คำปรึกษาหารือในวงการอุตสาหกรรมการควบคุมผู้ประพฤติผิด เป็นต้น

6. จิตวิทยาการเรียนรู้ (Psychology of Learning) เป็นการศึกษาทฤษฎีการเรียนรู้กระบวนการเรียนรู้ธรรมชาติของการเรียนรู้การคิด การแก้ปัญหา การจำ การลืม รวมถึงปัญหา ต่างๆ ที่เกี่ยวกับการเรียนรู้

7. จิตวิทยาบุคลิกภาพ (Psychology of Personality) เป็นการศึกษาคุณลักษณะเฉพาะตัวของบุคคลที่เป็นตัวกำหนดพฤติกรรมที่ทำให้บุคคลมีความแตกต่างระหว่างบุคคลหรือแตกต่างจากบุคคลอื่นทั้งในด้านแนวความคิด ทัศนคติตลอดจนการแก้ปัญหาด้วย

8. จิตวิทยาการศึกษา (Education Psychology) เกี่ยวข้องกับเรื่องสภาพการเรียนรู้ประเภทและวิธีการเรียนรู้โรงเรียนสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อผู้เรียน การปรับตัวของครู ความแตกต่างระหว่างบุคคลและการศึกษาเด็กเป็นรายบุคคล

9. จิตวิทยาเปรียบเทียบ (Comparative Psychology) เป็นจิตวิทยาซึ่งว่าด้วยความเหมือนและความแตกต่างในทางพฤติกรรมของอินทรีย์ทั้งหลายศึกษาเกี่ยวกับวิวัฒนาการทางพฤติกรรมการเรียนรู้แบบคลาสสิกและการเรียนรู้แบบใช้เครื่องมือทดลองความสามารถในการแยกความแตกต่างการเรียนรู้และการรับรู้

10. จิตวิทยาภาษาศาสตร์ (Poychololinguiotes) เป็นจิตวิทยาซึ่งรวมถึงวิธีการทางจิตวิทยาและทางภาษาศาสตร์เข้าด้วยกันเพื่อใช้ในการศึกษาเกี่ยวกับการแสดงออกของภาษาทางด้านจิตวิทยาความเคยชินทางภาษาวิธีการใช้ภาษาในทางด้าน Cognitive และติดต่อสื่อสารกัน

11. จิตวิทยาคลีนิค (Clinical Psychology) เป็นจิตวิทยาซึ่งศึกษาเกี่ยวกับความผิดปกติทางพฤติกรรมของมนุษย์โดยอาศัยหลักการสืบความจริง หรือจากการพิจารณาปัญหาต่าง ๆศึกษาประวัติโดยละเอียดหรืออาศัยหลักวิธีการต่างๆ ทางจิตวิทยา

12. จิตวิทยาอุตสาหกรรม (Industrial Psychology) เป็นจิตวิทยาที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาค้นคว้าหาวิธีการและผลต่างๆ ซึ่งจะก่อให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงาน การพัฒนาความคิดในงานที่ต้องการความชำนาญชั้นสูง ผลของสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่องานแรงจูงใจในการทำงานการประเมินผลการทำงาน

Posted in การศึกษา | Tagged | Comments Off on จิตวิทยากับการศึกษา

จุดประสงค์ของการศึกษาที่ดีเพื่อให้ผู้เรียนนำไปใช้ในอนาคต

การสอน เป็นหนึ่งในกระบวนการที่จะทำให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามความหมายของการศึกษา คือ การส่งเสริมให้บุคคลเจริญเติบโตและมีความเจริญงอกงามทางกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญาและพัฒนาขึ้นไปสู่ความเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม การสอนมีความ หมายที่หลากหลาย ขึ้นอยู่กับปรัชญาหรือจุดมุ่งหมายที่เราต้องการให้เกิดขึ้นในตัวผู้เรียน

การสอน ที่มีระบบระเบียบมากขึ้น มีขั้นตอนที่ชัดเจน มีการแสดงให้เห็นปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับผู้เรียน มีการศึกษาค้นคว้าทดลองเกี่ยวกับ จิตวิทยา การเรียนรู้ของผู้เรียน ในช่วงต้น ๆ ครูเป็นศูนย์กลางในการจัดประสบการณ์ให้แก่ผู้เรียน ตามสถานการณ์และความพอใจของครูความหมายที่เป็นศาสตร์และศิลป์ เป็นการปรับเปลี่ยนจากการสอน (Teaching ) มาสู่การเรียนการสอน (Instruction) ครูต้องใช้ความรู้ในการวางแผนการจัดการเรียนการสอนเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามจุดประสงค์ที่กำหนด โดยอาศัยสื่อและวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ เข้ามาช่วย ปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับผู้เรียนขยายวงกว้างออกไป รวมไปถึงปฏิสัมพันธ์กับสิ่งต่าง ๆ ด้วย Continue reading

Posted in การศึกษา | Tagged | Comments Off on จุดประสงค์ของการศึกษาที่ดีเพื่อให้ผู้เรียนนำไปใช้ในอนาคต

ปัจจัยกับการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของเด็กไทย

การพัฒนาคุณภาพการศึกษา คำว่า คุณภาพการศึกษา ก็ดูที่ตัวผู้เรียนหรือเยาวชนว่ามีคุณลักษณะตามที่หลักสูตรได้กำหนดไว้หรือไม่ว่า หลังจากที่ผู้เรียนได้รับการพัฒนา การจัดประสบการณ์หรือการจัดการเรียนการสอนแล้ว ย่อมมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปในทิศทางที่ดีขึ้น คำว่า “พฤติกรรม” ก็คือ ความรู้ความสามารถ ความคิด ต้องดีขึ้น คุณลักษณะ คุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมก็ดีขึ้น และทักษะ กระบวนการก็ดีขึ้น แต่ทั้งหมดทั้งหลายจะดีขึ้นก็ต้องอาศัยปัจจัยที่สำคัญเป็นตัวช่วย เป็นตัวสนับสนุน ปัจจัยที่สำคัญประกอบด้วยปัจจัย 5 คือ

1.ครู เป็นปัจจัยที่สำคัญ เพราะครูมีหน้าที่จัดประสบการณ์ จัดกิจกรรม จัดแหล่งการเรียนรู้ หรือจัดหลาย ๆ อย่างเพื่อให้ผู้เรียนหรือเยาวชนนั้นได้รับรู้ เรียนรู้ ผ่านสมองให้มากที่สุด การรับรู้พยายามรับรู้หลาย ๆ ทาง เช่น ให้ได้ยิน/ฟัง (หู) ให้ได้เห็น(ตา) ให้ได้กลิ่น(จมูก)ถ้าจำเป็นต้องได้รับรู้ ให้ได้รส(รส) ให้ได้สัมผัสทางกาย(มือ/ผิวหนัง) ดังนั้นการจัดประสบการณ์ในแต่ละครั้งครูจำเป็น ต้องหาช่องทางให้ผู้เรียนหรือเยาวชนให้ได้รับรู้ในช่องทางดังกล่าวให้มากที่สุด ที่บอกว่าให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติให้มากที่สุด ให้มีส่วนร่วมให้มากที่สุด เมื่อสมองผ่านการรับรู้ก็จะนำไปสู่การจัดกระทำ ด้วยกระบวนการคิดทางสมอง และนำมาถ่ายทอดให้สังคมได้รับรู้ ได้เห็น ว่ามีทิศทางที่ดีขึ้น

2. พ่อ แม่ ผู้ปกครอง เป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุด เพราะอยู่ใกล้ชิดกับผู้เรียนหรือเยาวชนตลอดเวลา จะต้องเป็นตัวช่วยให้กับครู เช่น อาจต้องมีการติดตาม ซักถาม ให้กำลังใจ หาปัจจัยสนับสนุน เช่น เอกสาร ตำรา สื่อแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ มาช่วยเพื่อให้บุตรหลานเกิดการเรียนรู้ได้เร็วขึ้น ถ้าพ่อ แม่หรือผู้ปกครองท่านใดให้ความเอาใจใส่ ผู้เรียนของท่านจะประสบผลสำเร็จได้เร็วขึ้นกว่าผู้เรียนทั่วไป

3. ผู้บริหารสถานศึกษา เป็นปัจจัยอีกปัจจัยหนึ่งที่สนับสนุนครู ต้องให้กำลังใจครูผู้สอน ต้องนิเทศ ติดตาม คอยดูแลช่วยเหลือเมื่อครูประสบปัญหาอย่างต่อเนื่องและตลอดเวลา เช่น ขาดงบประมาณ ขาดสื่อ ขาดแหล่งเรียนรู้ ต้องร่วมมือกับครู ต้องช่วยครูหาทางออก ไม่ใช่ปล่อยให้ครูช่วยเหลือตนเองเพียงลำพัง ควักกระเป๋าของตนเองตลอดสักวันครูก็จะท้อและหมดกำลังใจจัดประสบการณ์ให้กับผู้เรียน การปฏิบัติของผู้บริหารสถานศึกษา จะต้องให้มีความยุติธรรม เท่าเทียม เสมอภาคและอย่าเลือกปฏิบัติ

4.บรรยากาศในสถานศึกษา สถานศึกษาต้องแหล่งเรียนรู้ที่รู้สึกปลอดภัย สบายใจ ร่มรื่น เย็นสบาย มีแต่ความสดชื่น มีแต่ความสุข เมื่อเข้ามาในรั้วโรงเรียน ความเขียวขจี มีรั้วรอบขอบชิด มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกันของผู้เรียนกับครูทั้งโรงเรียน ผู้เรียนกับผู้เรียน ทำให้ผู้เรียนต้องการมาเรียนอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง ไม่หนีเรียน ทุกจุด ทุกมุมของโรงเรียนมีแหล่งเรียนรู้ เช่น ป้ายนิเทศ ประกาศ สารสนเทศต่าง ๆ มีห้องปฏิบัติการต่าง ๆ เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ในสถานการณ์จริง สถานการณ์จำลอง สถานศึกษาบางแห่งมียักษ์(ครูดุ)ยืนอยู่หน้าสถานศึกษาบางแห่งมีนักมวย(ครูชอบชกต่อย เตะเวลาทำโทษ) อยู่ในสถานศึกษา สถานศึกษาเช่นนี้ไม่มีความสุขที่จะเรียนรู้ ดังนั้นสถานศึกษาใดมีบรรยากาศที่ดีที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ย่อมได้เปรียบสถานศึกษาอื่นที่ไม่ให้ความสำคัญหรือสนใจ

5. ผู้เรียน ผู้เรียนถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญ เป็นตัวป้อน ต้องมีความกระตือรือร้น ต้องเอาใจใส่ ต้องใฝ่เรียนรู้ ใฝ่ถาม ใฝ่คิด ใฝ่ติดตาม ใฝ่แสวงหา สร้างทางเลือกให้กับตนเองในการเรียนรู้ และหาวิธีการเรียนรู้ของตนเองให้ได้ว่า ชอบวิธีการเรียนรู้อย่างไร เรียนแล้วจึงจะเข้าใจได้รวดเร็ว ต้องมีความรับผิดชอบ ต้องมีเหตุผล ต้องให้ความร่วมมือกับครู กับเพื่อนเพื่อสร้างบรรยากาศที่ดีในการเรียนรู้ ไม่เป็นตัวทำลาย ไม่ก่อกวนให้กับการเรียนรู้ ถ้าผู้เรียนสามารถประพฤติปฏิบัติได้ก็จะทำให้การเรียนรู้มีคุณภาพมากขึ้น

เชื่อว่าปัจจัย 5 เป็นปัจจัยที่สำคัญที่จะยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาให้สามารถแข่งขันในเวทีโลกได้ ถ้าทุกฝ่ายมีการประสานสัมพันธ์ที่ดี เป็นเครือข่าย เป็นเส้นใยที่เชื่อมโยงถึงกัน ไม่มีเส้นใยใดขาด ถ้าปัจจัย 5 มีการดำเนินการ่วมกันอย่างต่อเนื่องเชื่อได้ว่า คุณภาพการศึกษาเกิดขึ้นอย่างแน่นอน

Posted in การศึกษา | Tagged , | Comments Off on ปัจจัยกับการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของเด็กไทย

แนวทางการแก้ไขปัญหาพฤติกรรมและค่านิยมทางสังคมที่ไม่เหมาะสมของนักเรียน นิสิต นักศึกษาในปัจจุบัน

46

การศึกษานับว่ามีความสำคัญมากต่อการพัฒนาบุคลากรตลอดจนไปถึงเป็นพื้นฐานของการพัฒนาส่วนอื่น ๆ ด้วย เพราะไม่ว่าจะทำการพัฒนาส่วนใดต้องเริ่มมาจากการพัฒนาคนเสียก่อน ดังนั้นการพัฒนาคนสามารถทำได้หลาย ๆ รูปแบบ อย่างที่สำคัญที่สุดของการพัฒนาคนคือการให้การศึกษา ดังนั้นการพัฒนาประเทศต้องพัฒนาควบคู่ไปกับการพัฒนาคนโดยต้องคำนึงถึงการศึกษาเป็นสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคของเทคโนโลยีสารสนเทศที่ก้าวล้ำนำโลกไปมาก การศึกษาก็ต้องพัฒนาไปให้ทันกับโลก สำหรับการศึกษาในประเทศไทย หากดูจากสภาพที่เกิดขึ้นในสังคมหลาย ๆ ฝ่ายกำลังเข้าใจเป็นไปในแนวทางเดียวกันคือการศึกษาของไทยกำลังมีปัญหา จะเห็นได้ว่าเป็นปัญหาที่ได้รับความสนใจจากสังคม ซึ่งมีการทำวิจัยออกมาหลาย ๆ ครั้งที่สะท้อนถึงความล้มเหลวของการศึกษาในบ้านเรา ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับเด็กและเยาวชนไทยเปรียบเสมือนสายพานความป่วยไข้ทางสังคมที่สะท้อนถึงปรากฏการณ์ความอ่อนแอของทุกภาคส่วน ทั้งสถาบันครอบครัวอ่อนแอ พื้นที่อบายมุขขาดการควบคุม อันเป็นปฐมเหตุของปัญหาพฤติกรรมเด็กและเยาวชน ไม่ว่าเป็นปัญหาติดห้าง เที่ยวกลางคืน กินเหล้า สูบบุหรี่ และมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร อันจะนำไปสู่ผลกระทบกับปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นตามมาอย่างมากมาย

เคยมีการสัมมนาเรื่อง แนวทางการแก้ไขปัญหาพฤติกรรมและค่านิยมทางสังคมที่ไม่เหมาะสมของนักเรียน นิสิต นักศึกษาในปัจจุบัน ซึ่งจัดโดยคณะกรรมาธิการ การศึกษา สภาผู้แทนราษฎร ซึ่ง รศ.ดร.โภคิน พลกุล ประธานรัฐสภา กล่าวว่า ปัญหาพฤติกรรมและค่านิยมทางสังคมที่ผิดของวัยรุ่นไทยในปัจจุบันมีความรุนแรงจนกลายเป็นวิกฤติทางสังคม ซึ่งปัญหาอันดับหนึ่งคือ ยาเสพติด รองลงมาคือการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควรโดยเฉลี่ยจะมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกอายุ 16 ปี เป็นที่มาของการทำแท้ง การทอดทิ้งเด็ก เด็กถูกทำร้าย การติดเชื้อเอดส์และการขายบริการทางเพศ นอกจากนี้ยังมีปัญหาอุบัติเหตุจากความมึนเมา คึกคะนอง ท้าทายกฎระเบียบ ส่วนปัญหาที่กำลังมีแนวโน้มขยายตัวและรุนแรงในวัยรุ่นคือ การทำร้ายผู้อื่นและทำร้ายตนเอง โดยการคิดฆ่าตัวตาย ซึ่งปัญหาส่วนใหญ่มาจากความอ่อนแอของสถาบันครอบครัว สถาบันการศึกษา สถาบันศาสนาและชุมชน รวมถึงสื่อโดยเฉพาะโทรทัศน์และเทคโนโลยีสารสนเทศ ดังนั้นจึงจำเป็นที่ทุกฝ่ายต้องร่วมมือกันและรีบแก้ไขปัญหาวัยรุ่น

ผลจากการติดตามการปฏิรูปการศึกษาในรอบ 6 ปี หลังการประกาศใช้ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 โดยประเมินจากคุณภาพภายนอกสถานศึกษา 17,562 แห่งทั่วประเทศ คิดเป็นร้อยละ 49.1 ของโรงเรียนทั้งหมด พบว่า การจัดการเรียนการสอนของครูยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ ยังมีคุณภาพอยู่ในระดับร้อยละ 39.2 การจัดกิจกรรมที่กระตุ้นผู้เรียนให้รู้จักคิด วิเคราะห์ คิดสร้างสรรค์ คิดแก้ปัญหาและตัดสินใจ มีคุณภาพอยู่ระดับ ร้อยละ 13.5 และครูสามารถนำผลการประเมินมาปรับการเรียนและเปลี่ยนการสอนเพื่อพัฒนาคุณภาพเพียงร้อยละ 21.6 ของสถานศึกษาทั้งหมด การประเมินคุณภาพทางด้านผู้เรียนพบว่า ยังมีผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนระดับต่ำมากในทุกกลุ่ม โดยเฉพาะความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ มีวิจารณญาณและความคิดสร้างสรรค์ มีคุณภาพระดับดีเพียงร้อยละ 11.1 และการมีทักษะในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง รักการเรียนรู้และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง มีคุณภาพดีเพียงร้อยละ 26.5 ของสถานศึกษาทั้งหมด ส่วนผลการประเมินของผู้ตรวจราชการ พบว่า โครงสร้างการบริหารการศึกษาในส่วนกลาง ยังขาดการประสานเชื่อมโยงนโยบายและยุทธศาสตร์ ส่วนภูมิภาคพบว่าผู้แทนกระทรวงในจังหวัดยังไม่ชัดเจน การกระจายอำนาจไม่เป็นไปตามกฎหมาย ที่สำคัญครูจำนวนมากยังสอนแบบเดิม ขาดความรู้ในเนื้อหาวิชาและทักษะการจัดการเรียนการสอน โดยเฉพาะครูในโรงเรียนขนาดเล็กขาดโอกาสพัฒนามาก เพราะไม่สามารถทิ้งห้องเรียนได้ การติดตามผลยังไม่เข้มแข็ง ไม่ได้ถูกนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์ ทางการศึกษา

Posted in การศึกษา | Comments Off on แนวทางการแก้ไขปัญหาพฤติกรรมและค่านิยมทางสังคมที่ไม่เหมาะสมของนักเรียน นิสิต นักศึกษาในปัจจุบัน

ในระยะเวลาที่ผ่านมาคุณภาพการศึกษามีสภาพด้อยลงมากยิ่งขึ้น โครงสร้าง

6

ในระยะเวลาที่ผ่านมาคุณภาพการศึกษามีสภาพด้อยลงมากยิ่งขึ้น โครงสร้าง ระบบที่รื้อปรับใหม่ไม่เกิดเรื่องการกระจายอำนาจทางการศึกษาในทางปฏิบัติมากนัก วัฒนธรรมองค์กรยังเหมือนเดิม เป็นระบบราชการศึกษา อนุรักษนิยม และติดกรอบการทำงานเชิงระเบียบกฎเกณฑ์แบบแผนดั้งเดิมที่สั่งสมกันมานวัตกรรมแนวคิดใหม่ๆ ไม่สามารถสอดแทรกเข้าสู่กระแสหลัก ระบบใหญ่ที่ปฏิบัติกันจนเคยชินได้มากนักหลักสูตรกระบวนการเรียนรู้ยังคงยึดเนื้อหาและครูเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ตลอดเวลาประชาธิปไตยมีเพียงรูปแบบตายตัว สำเร็จรูปเหมือนกันทั้งประเทศระบบการวัดผลการศึกษามีการปล่อยคุณภาพทุกระดับชั้นจนเข้าสู่การแข่งขันสอบเข้าสถาบันอุดมศึกษาจึงพบข้อเท็จจริงทั้งปัญหาผลสัมฤทธิ์ที่ตกต่ำทุกรายวิชา เกรดเฟ้อ และมาตรฐานคุณลักษณะเด็กในเชิงคิดวิเคราะห์ การตัดสินใจทักษะชีวิต คุณธรรมจริยธรรมล้วนไม่ผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้เป็นอันมาก ความเหลื่อมล้ำเชิงคุณภาพการศึกษาไทยยังปรากฏความแตกต่างมากยิ่งขึ้นขาดแคลนครู ทรัพยากร งบประมาณ โดยเฉพาะในโรงเรียนที่ห่างไกลในชนบทในขณะที่ส่วนกลางยังคงมีความขัดแย้งแตกต่างในเรื่องการถ่ายโอนโรงเรียนจนนำเข้าไปสู่การชะลอตัวของความร่วมมือช่วยเหลือกันในแทบทุกด้านเด็กจำนวนมากกำลังถูกบีบให้ออกจากโรงเรียน ครอบครัว ชุมชน เข้าสู่วงจรอบายมุขของสังคมที่เต็มไปด้วยสิ่งแวดล้อมอันตรายหลุมดำ และเครือข่ายที่เด็กเข้าสู่ถนนยุวอาชญากรง่ายขึ้นตามลำดับ

เด็กและเยาวชนในปัจจุบันจึงขาดบุคคล ขาดสถาบัน ขาดพื้นที่ ขาดนโยบายที่จะช่วยเหลือดูแลเด็กและเยาวชนอย่างแท้จริงแต่สังคมกำลังเปิดกำลังให้เด็กและเยาวชนเสี่ยงต่อการเสียคน เสียอนาคต มีปรากฏให้เห็น สร้างกันดาษดื่นในแทบทุกแห่ง ในเชิงนโยบายของรัฐ ต้องเน้นการศึกษาเป็นวาระแห่งชาติเฉพาะที่ต้องให้ความสำคัญกับนโยบายภาคสังคม การศึกษา ชุมชน ครอบครัว คุณภาพประชากร เด็กและเยาวชนมากยิ่งขึ้นกระทรวงศึกษาธิการเป็นกระทรวงที่ต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษ ต้องผ่าตัด แก้ไขปรับปรุงโครงสร้างระบบใหม่ ส่วนกลางเล็กลง กระจายอำนาจการศึกษาแบบเครือข่ายมิใช่โครงสร้างราชการ สร้างวัฒนธรรมองค์กรใหม่ให้ทำงานยึดผู้เรียนเป็นสำคัญมากกว่าตำแหน่ง เงินตอบแทนวิทยฐานะ ขนาดโรงเรียน การเลื่อนขั้น ระบบการตรวจสอบ และอื่นๆมีรัฐมนตรีและทีมงานทางด้านการเมืองที่มาจากความหลากหลาย มีวิสัยทัศน์ กล้าตัดสินใจ นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทั้งระบบเพื่อยกระดับการศึกษาทั้งประเทศ ขจัดปัญหาและอุปสรรคเรื่องการถ่ายโอนการศึกษาระดับพื้นที่ลง กำหนดสัดส่วนของการจัดการศึกษาภาครัฐ ภาคเอกชน ส่วนท้องถิ่น การศึกษาทางเลือกให้ลงตัวใกล้เคียงกัน และมีภารกิจแตกต่างกันไปตามลักษณะการศึกษาพื้นที่รับผิดชอบปัญหาเด็กและเยาวชนในแต่ละท้องถิ่นทุ่มเทงบประมาณลงสู่ภาคการศึกษามากขึ้นเป็นสัดส่วน 35% ของคุณภาพประชากรที่ท้องถิ่นรับโอนภารกิจมาทั้งหมด การบังคับการใช้งบประมาณในสัดส่วนภาคสังคม คุณภาพสิ่งแวดล้อมโครงการที่เกี่ยวข้องกับครอบครัว การศึกษา คุณภาพการเรียนรู้ คุณธรรมจริยธรรม ความเข้มแข็งของชุมชนเป็นข้อบังคับที่ควรกำหนดไว้ในเชิงนโยบาย ยุทธศาสตร์แผนงบประมาณประจำปี เป็นต้น

Posted in การศึกษา | Comments Off on ในระยะเวลาที่ผ่านมาคุณภาพการศึกษามีสภาพด้อยลงมากยิ่งขึ้น โครงสร้าง

ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อคุณภาพการศึกษาที่ทั่วโลกให้ความสำคัญ

6

ถึงแม้รัฐบาลไทยจะให้ความสำคัญกับการลงทุนทางการศึกษามากขึ้นทุกระดับ ทำให้เยาวชนไทยมีโอกาสที่จะได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึง แต่เนื่องจากปัญญาความยากจนของคนไทยจำนวนมาก ทำให้เยาวชนที่มีโอกาสได้เข้าเรียนไม่สามารถเรียนได้จนกระทั่งจบ ม.6 หรือ ปวช. และต้องออกกลางคันปีละหลายล้านคน ส่วนผู้ที่สามารถเรียนได้จนจบชั้น ม. 6 หรือ ปวช. ก็มีปัญหาเรื่องคุณภาพการศึกษา เพราะสถาบันการศึกษาทั้งของรัฐและเอกชนจำนวนมากไม่สามารถจัดการศึกษาได้อย่างมีคุณภาพ ทำให้เกิดความสูญเปล่าทั้งทรัพยากรและเวลาที่เยาวชนต้องใช้ไปกับการศึกษาในโรงเรียนปัญหาเรื่องคุณภาพการศึกษาของไทยกำลังทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น โดยที่นักการศึกษาของไทยยังหาทางออกไม่ได้ ดูเหมือนยิ่งแก้ยิ่งอีรุงตุงนังหาทางออกไม่เจอ ทั้งๆที่ไปดูงานต่างประเทศกันมาก็มาก

ผลการประเมิน The Learning Curve Index ปี 2557 ของนักเรียนที่เตรียมสอบเข้ามหาวิทยาลัย จำนวน 40 ประเทศ ปรากฎว่าประเทศเกาหลีใต้ได้อันดับ 1 ญี่ปุ่นอันดับ 2 สิงคโปร์อันดับ 3 ฮ่องกงอันดับ 4 ส่วนประเทศไทยอันดับ 35 ทั้งๆที่ปี 2505 ไทยมีฐานะทางเศรษฐกิจดีกว่าเกาหลีใต้ ข้อมูลนี้คงบอกได้ว่าผู้นำประเทศของเราตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันพัฒนาการศึกษาได้ดีแค่ไหน? การที่เกาหลีใต้ประสบความสำเร็จในการพัฒนาการศึกษาทำใต้เกาหลีใต้กลายเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วโดยมีรายได้เฉลี่ยต่อคนต่อปีสูงกว่าสองหมื่นเหรียญสหรัฐ ในขณะที่รายได้เฉลี่ยต่อคนต่อปีของไทยอยู่ที่ 5,400 เหรียญสหรัฐเท่านั้น นี่คือความแตกต่างที่เกิดขึ้นในเวลาเท่ากัน

ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อคุณภาพการศึกษาที่ทั่วโลกให้ความสำคัญ แต่ประเทศไทยทำไม่สำเร็จคือ คุณภาพผู้สอน ปกติคนที่จะมีอาชีพสอนหนังสือจะต้องเป็นคนที่มีผลการเรียนดี หรือเป็นคนเรียนเก่ง สถาบันการศึกษาที่มีชื่อเสียงทั่วโลกทุกระดับจะพยามคัดเลือกคนเก่งให้เป็นผู้สอน ในอดีตประเทศไทยเราใครจะเรียนครูต้องเป็นคนเก่งจึงจะเข้าเรียนได้ แต่ในระยะหลังนี้เราไม่สามารถดึงดูดให้คนเก่งมาเรียนครูได้ โดยเฉพาะการศึกษาขั้นพื้นฐานหาคนเก่งมาเป็นครูยาก ทำให้มีผลกระทบต่อคุณภาพการศึกษาของเรามาโดยตลอด ในขณะที่ประเทศเกาหลีใต้ประสบความสำเร็จมากในการดึงดูดคนเก่งมาสอนหนังสือหลักสูตรและระบบการเรียการสอน กล่าวคือหลักสูตรต้องเป็นหลักสูตรที่ทันสมัยสอดคล้องกับความต้องการของสังคม และมีระบบการเรียนการสอนที่เสริมสร้างทักษะการคิด การวิเคราะห์ และสังเคราะห์ โดยเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง แต่ปัญหาหลักของระบบการเรียนการสอนของไทยคือการสอนให้ท่องจำ ไม่มีทักษะในการคิดและวิเคราะห์ ทำให้ไม่มีความคิดสร้างสรรค์

Posted in การศึกษา | Comments Off on ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อคุณภาพการศึกษาที่ทั่วโลกให้ความสำคัญ

วัตถุประสงค์ของการศึกษางจัดกิจกรรมการเรียนที่สอดคล้องกับธรรมชาติ ความสนใจ และความถนัดของผู้เรียน

จุดมุ่งหมายของการศึกษาที่ควรจะเป็น ตามทัศนะของเราในยุคปัจจุบัน ควรส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ หมายถึง สถานศึกษาต้องจัดกิจกรรมการเรียนที่สอดคล้องกับธรรมชาติ ความสนใจ และความถนัดของผู้เรียน เนื่องจากผู้เรียนแต่ละคนมีความแตกต่างกัน มีความสนใจและความถนัดที่ไม่เหมือนกัน ถ้าโรงเรียนได้จัดการศึกษาที่สอดคล้องกับผู้เรียนแต่ละคน ประเทศของเราจะมีทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพ มีความสามารถยอดเยี่ยมและหลากหลาย สามารถคิดอย่างเป็นระบบ มีเหตุผล และเราก็สามารถแข่งขันได้ในเวทีโลก

การจัดการศึกษา ต้องเน้นและให้ความสำคัญใน 3 เรื่อง คือ ความรู้ คุณธรรม และกระบวนการเรียนรู้ โดยให้บูรณาการตามความเหมาะสมของแต่ละระดับการศึกษาในเรื่องต่างๆ 5เรื่อง ซึ่งเป็นแนวของสาระหลักสูตรนั่นเอง โดยกำหนดไว้ในแต่ละข้อ ดังนี้
1. ความรู้เกี่ยวกับตนเองและความสัมพันธ์กับสังคม ในอดีตสถานศึกษามักจัดให้ผู้เรียนเรียนเรื่องที่ไกลตัว ผู้เรียนต้องท่องจำชื่อเมือง ชื่อแม่น้ำในต่างประเทศ แต่ไม่รู้จักสถานที่ในประเทศไทย ผู้เรียนรู้จักผู้ค้นพบทวีปอเมริกา แต่ประวัติท้องถิ่นหรือหมู่บ้านของตนเองกลับไม่มีความรู้เลย  ความคิดเรื่องการเรียนรู้เกี่ยวกับตนเองนี้สอดคล้องกับหลักจิตวิยาการเรียนรู้ ที่ว่าให้เราเริ่มต้นเรียนกับเรื่องของตนเองและสิ่งใกล้ตัวก่อน แล้วจึงขยายกว้างออกสู่สังคม ซึ่งได้แก่ ครอบครัว ชุมชน ชาติและสังคมโลก ดังนั้น เมื่อเราจัดหลักสูตรก็ต้องเน้นความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ และความเป็นมาของสังคมไทย การเมืองการปกครองของสังคมไทยในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขให้เข้าใจถ่องแท้ ก่อนที่จะเรียนเรื่องประเทศอื่น
2. ความรู้และทักษะด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นเรื่องที่สำคัญมากอีกอย่างหนึ่งที่ผู้เรียนต้องเรียนรู้ เพื่อประโยชน์สำหรับการพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะเรื่องการจัดการบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุล ยั่งยืน ประเทศไทยได้ชื่อว่ามีทรัพยากรธรรมชาติมากมาย แต่ไม่รู้วิธีการจัดการ เราจึงมีปัญหาภัยแล้ง น้ำท่วม ป่าถูกทำลาย ฯลฯ ในขณะที่ประเทศสิงคโปร์ ซึ่งมีขนาดเล็กและพลเมืองน้อยไม่มีทรัพยากรใดๆ แต่มีความรู้และทักษะด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีความสามารถในการจัดการสูงสามารถพัฒนาประเทศจนมั่งคั่งอยู่ในระดับต้นๆของโลก
3. ความรู้เกี่ยวกับศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม การกีฬา ภูมิปัญญาไทย และการประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาเหล่านั้น ซึ่งเป็นครั้งแรกที่ภูมิปัญญาไทยได้รับความสำคัญอย่างยิ่งในฐานะเป็นส่วนหนึ่งของสาระหลักสูตรที่ผู้เรียนต้องเรียนรู้
4. ความรู้และทักษะด้านคณิตศาสตร์ ภาษา โดยเฉพาะให้ความสำคัญกับการใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้อง ระบบการศึกษาไทยที่ผ่านมามักจะละเลยภาษาประจำชาติ ผู้เรียนจึงมองข้ามความสำคัญของความรู้ด้านนี้ แต่โดยสาระบัญญัติข้อนี้ ประเทศไทยจึงจำเป็นต้องมีนโยบายด้านภาษา ทั้งภาษาประจำชาติและภาษาต่างประเทศ ซึ่งในยุคโลกาภิวัตน์ คนไทยควรพูดภาษาต่างประเทศได้อย่างน้อย 2 ภาษา คือ ภาษาอังกฤษ ซึ่งเป็นภาษาที่ใช้ในการสื่อสารระดับสากลมากที่สุด และภาษาของประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ภาษามลายู ภาษาจีน หรือภาษาญี่ปุ่น ซึ่งจำเป็นสำหรับการติดต่อค้าขายในภูมิภาค
5. ความรู้และทักษะในการประกอบอาชีพ และการดำรงชีวิตอย่างมีความสุข
การกำหนดหลักสูตรทั้งการศึกษาขั้นพื้นฐานและอุดมศึกษา การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย ต้องนำทั้ง5 เรื่องนี้มาเป็นแกนสำหรับการจัดการศึกษาได้กำหนดให้คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจัดทำหลักสูตรแกนกลาง โดยให้สถานศึกษาจัดทำสาระในรายละเอียดและหลักสูตรท้องถิ่นกำหนดว่าสาระของหลักสูตรต้องมุ่งพัฒนาคนให้มีความสมดุล

Posted in การศึกษา | Tagged | Comments Off on วัตถุประสงค์ของการศึกษางจัดกิจกรรมการเรียนที่สอดคล้องกับธรรมชาติ ความสนใจ และความถนัดของผู้เรียน

ลักษณะที่ชัดเจนและเป็นไปได้ในเชิงปฏิบัติในการศึกษาสิ่งที่สำคัญอยู่ตรงที่ว่าต้องรู้ให้แน่ชัด

จุดมุ่งหมาย คือจุดที่ต้องพยายามไปให้ถึงเป็นสิ่งที่หวังไว้ในอนาคต เป็นเครื่องบอกทิศทางให้ผู้ทำงานอย่างหนึ่งพยายามไปให้ถึงจุดนั้น  เปรียบเสมือนผู้กำหนดทิศทาง ดังนั้นจุดมุ่งหมายทางการศึกษาจึงเป็นการกำหนดทิศทางของกิจกรรมทางการศึกษาให้ได้ดังที่พึงประสงค์ไว้ การกำหนดจุดมุ่งหมายเป็นงานที่มีความสำคัญ เพราะจุดมุ่งหมายที่กำหนดขึ้นจะเห็นแนวทางในการกำหนดเนื้อหา การเลือกวิธีสอน กิจกรรมการเรียนการสอน  ตลอดจนการวัดผล จึงควรมีลักษณะที่ชัดเจนและเป็นไปได้ในเชิงปฏิบัติ สิ่งที่สำคัญอยู่ตรงที่ว่าต้องรู้ให้แน่ชัดเสียตั้งแต่ต้นว่า วิชานี้ บทนี้จะต้องวัดอะไรบ้าง จะต้องวัดมากน้อยอย่างละเท่าไรและจะต้องวัดด้วยวิธีใดซึ่งจัดว่าเป็นสิ่งแรกที่สำคัญที่สุดของกระบวนการวัดผล ดังนั้นการที่จะตอบคำถามดังกล่าวนั้นได้ จึงจำเป็นที่จะต้องรู้ถึงจุดมุ่งหมายของวิชาหรือบทเรียนนั้นเสียก่อนว่าต้องการให้เกิดสิ่งใดกับผู้เรียนบ้าง จึงจะสามารถทำการวัดได้อย่างถูกต้องหากพิจารณาจากกระบวนการสอนที่เรียกว่า OLE

จากวงจรการเรียนการสอนจะเห็นได้ว่าองค์ประกอบทั้ง 3 ส่วน มีความเกี่ยวข้องต่อเนื่องกันคือจุดมุ่งหมาย การเรียนการสอนเพื่อให้ผู้เรียนเกิดความเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมตามจุดประสงค์ที่กำหนดไว้ โดยเน้นที่เป้าหมายของการสอน ซึ่งการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมนี้เป็นพฤติกรรมทั้ง 3 ด้าน  ได้แก่  ด้านความรู้ความคิด ด้านเจตคติ คือการได้เห็นคุณค่า เห็นความสำคัญและด้านทักษะคือการปฏิบัติได้ถูกต้องตามวัยดังนั้นในการสอนจึงต้องตั้งจุดมุ่งหมายให้ผู้เรียนเกิดการพัฒนาทั้ง 3 ด้าน  มิใช่เพียงด้านใดด้านหนึ่งเพียงด้านเดียว จึงจะถือว่าเป็นการสอนที่สมบูรณ์ ตลอดจนมุ่งให้ผู้เรียนสามารถนำประสบการณ์ใหม่ไปใช้ได้

การเรียนการสอนเป็นกิจกรรมที่สำคัญในกระบวนการทางการศึกษา เพราะเป็นการนำหลักสูตรไปใช้ปฏิบัติให้บรรลุจุดมุ่งหมายที่ได้กำหนดไว้ คุณภาพของการศึกษาจะดีหรือไม่นั้น การสอนเป็นสำคัญซึ่งจะทำหน้าที่พัฒนาและเสริมสร้างผู้เรียนให้เกิด การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและมีประสบการณ์การเรียนรู้เพิ่มขึ้นการประเมินผล เป็นการติดตามผลการจัดการเรียนการสอนว่าผู้เรียนบรรลุผลมากน้อยเพียงใด ตามธรรมชาติของผู้เรียนแต่ละคนขึ้นอยู่กับการพัฒนาทางสติปัญญาและทางร่างกาย ซึ่งมีความแตกต่างกัน การประเมินผลการเรียนจะเชื่อมโยงกับจุดมุ่งหมายทางการศึกษาและวิธีการเรียน การสอน กล่าวคือ ผู้สอนมักจะตั้งความหวังก่อนสอนว่าต้องการจะให้ผู้เรียนรู้อะไร เกิดพฤติกรรมอะไรหรือทำอะไรได้บ้าง ซึ่งความหวังนี้เรียกว่า จุดมุ่งหมายทางการศึกษา ซึ่งมี 3 ด้าน คือ พุทธิพิสัย จิตพิสัยและทักษะพิสัย วิธีการวัดและประเมินผลจึงต้องเกี่ยวพันกับจุดมุ่งหมายการศึกษา

Posted in การศึกษา | Comments Off on ลักษณะที่ชัดเจนและเป็นไปได้ในเชิงปฏิบัติในการศึกษาสิ่งที่สำคัญอยู่ตรงที่ว่าต้องรู้ให้แน่ชัด

จุดมุ่งหมายและจุดมุ่งเน้น กับระบบการศึกษาไทยเป็นอย่างไร


จุดมุ่งหมายของการศึกษาไทย โดยทั่วไปก็คือการสร้างพลเมืองที่ดีมีคุณภาพ เป็นการศึกษาในภาพรวม แต่ถ้าจะมุ่งเน้นเฉพาะกระบวนการที่จะทำให้เกิดความรู้ในวิทยาการ จุดมุ่งเน้นของการศึกษาจะประกอบไปด้วยตัวแปรต่างๆ  5 ข้อ ดังต่อไปนี้

1 การศึกษาคือกระบวนการให้เข้าถึงข้อมูลข่าวสาร (data or information) ซึ่งหมายความว่า บุคคลที่อยู่ในสังคมจำเป็นต้องมีการเข้าถึง หรือทราบข่าวสารข้อมูลเบื้องต้น  มิฉะนั้นจะเป็นการล้มเหลวของการศึกษาทันที ระบบการศึกษาใด หากคิดว่าการให้ข้อมูลข่าวสารกับผู้เรียน คือ การให้ความรู้นั้น ถือเป็นการเข้าใจผิดอย่างยิ่งค่ะ ซ้ำร้ายหากการประเมินผลมุ่งเน้นการทดสอบความสามารถในการท่องจำ คนเก่งคือคนที่ท่องตำราเก่ง การมีความคิดเป็นของตัวเองจึงเปล่าประโยชน์  เพราะมันจะขจัดความคิดริเริ่มเป็นการทำลายพัฒนาการของบุคคลด้วยระบบการศึกษาอย่างน่าเสียดาย
2  การศึกษามุ่งเน้นให้คนคิดเป็น คือมีความสามารถในการวิเคราะห์ ซึ่งต้องเริ่มจากการสร้างจิตวิเคราะห์ (analytical mind) คือ ช่างสังเกต ช่างสงสัย ตั้งคำถามและใช้หลักตรรกในการหาคำตอบเบื้องต้น เป็นกุญแจที่นำไปสู่ความรู้ โดยการนำข้อมูลมาสัมพันธ์กันด้วยเหตุและผล นี่แหละค่ะเรียกว่า  ” การเกิดความรู้ ”    
3  การรู้จักวิเคราะห์ และการมีข้อมูลข่าวสารเบื้องต้น ต้องเสริมด้วยการหาข้อมูลเพิ่มเติม  เพื่อทำให้การวิเคราะห์น่าเชื่อถือยิ่งขึ้น นั่นคือ ได้ข้อมูลใหม่และข้อมูลเพิ่มเติมมายืนยันการวิเคราะห์ปัญหา เพื่อการวางแผนแก้ปัญหา ประเมินความสำเร็จหรือล้มเหลวของนโยบายการแก้ปัญหา นั่นคือ การวิจัยบวกกับความสามารถในการวิเคราะห์ คือ การสร้างองค์ความรู้ใหม่ในวงวิชาการ
4  การสร้างทฤษฎี การเก็บข้อมูลจากการวิจัย การวิเคราะห์ที่มีผลออกมาซ้ำกันหลายๆครั้ง ย่อมนำไปสู่ความเชื่อมั่นในระดับหนึ่ง เป็นการสร้างทฤษฎีจากการวิจัย ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของการสร้างความรู้ใหม่ ผู้เรียนคนใดมีจิตวิเคราะห์ มีการวิจัยหาข้อมูลใหม่ๆ ย่อมสร้างทฤษฎีได้ทั้งสิ้น ไม่จำเป็นต้องอ้างปรมาจารย์ของต่างประเทศเสมอไป
5  ส่วนสำคัญของการวิเคราะห์ วิจัยนำไปสู่การสร้างทฤษฎี เพื่อนำไปประยุกต์ ซึ่งการประยุกต์ เป็นการนำเอาความรู้มาเป็นฐานของการวางนโยบายเพื่อแก้ปัญหา  การวางนโยบายโดยไร้ข้อมูล ไม่มีความรู้ที่ผ่านการวิเคราะห์มาแล้ว ย่อมเกิดความสำเร็จน้อย การแก้ปัญหาในสมัยใหม่ ต้องมีการวิจัยเพื่อหาสาเหตุที่แท้จริง

สรุปได้ว่า ระบบการศึกษาจึงต้องคลอบคลุมทั้ง 5 มิติ มิใช่มุ่งเน้นเฉพาะการท่องจำ จนคิดไม่เป็น ส่วนของคุณธรรมประจำใจ ความรับผิดชอบต่อสังคมและประเทศชาติ เป็นส่วนสำคัญของการสร้างมนุษย์ ที่ต้องอยู่บนร่างกายที่สมบูรณ์ สามารถที่จะปรับตัวให้เข้ากับยุคสมัยได้นั่นเอง

Posted in การศึกษา | Tagged | Comments Off on จุดมุ่งหมายและจุดมุ่งเน้น กับระบบการศึกษาไทยเป็นอย่างไร

ปัญหาทางการศึกษาของเด็กไทย

การศึกษาของเด็กไทยที่ผ่านมา มีความพยายามในการยกระดับมาตรฐานทางการศึกษาของเด็กและเยาวชนเพื่อให้ได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับ เนื่องจากในการวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของเด็กไทยในแต่ละปี ผลที่ออกมามักอยู่ในเกณฑ์ที่ต่ำกว่ามาตรฐาน

แม้ประเทศไทยจะมีการทุ่มงบประมาณเพื่อพัฒนาการศึกษา ไม่ว่าจะเป็นโครงการเรียนฟรี 15 ปี รวมถึงโครงการผลิตครูการศึกษาขั้นพื้นฐานระดับปริญญาตรี (หลักสูตรครู 5 ปี) การประเมินวิทยฐานะ ซึ่งทำให้ครูที่มีผลงานดีได้รับผลตอบแทนสูงขึ้น แต่เหตุใดปัญหาการศึกษาของเด็กไทยยังมีการประเมิณว่าอยู่ในเกณฑ์ต่ำเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ซึ่งปัญหาด้านการเรียนของเด็กไทยในปัจจุบันอาจวิเคราะห์ได้ว่ามาจากหลายประการ

ปัจจัยหนึ่ง ที่ทำให้เด็กมีผลการเรียนอ่อนลง มาจากความสนใจของตัวเด็กเองที่พบว่าเด็กให้ความสนใจเรื่องของเกม และสื่อเพื่อความบันเทิงมากขึ้น ทำให้ความสนใจในการศึกษาหาความรู้ลดน้อยลง ทั้งนี้ เนื่องมาจากสภาพสังคมไทยเปลี่ยนแปลงไปสู่การเป็นครอบครัวเดี่ยว พ่อแม่ทุ่มเวลาหาเงิน ทำงาน และใช้เงิน ใช้เทคโนโลยีเลี้ยงดูเด็ก เช่น ซื้อทีวี ซื้อเครื่องเล่นเกมส์คอมพิวเตอร์ให้ลูกเล่นอยู่บ้าน เพราะคิดว่าดีกว่า ปลอดภัยกว่าที่จะให้ลูกไปเล่นนอกบ้าน ซึ่งจะทำให้เกิดผลเสียต่อพัฒนาการ

ปัญหาการสอบแอดมิดชั่น เนื่องจากระบบการสอบแอดมิดชั่น เน้นคะแนนสอบเพียงบางวิชาและไม่เน้นความรู้ในเชิงลึกเหมือนการสอบในสมัยเก่า

ปัญหาจากครูผู้สอน ทั้งในเรื่องเงินเดือน และการฝึกฝนเรียนรู้ของครูให้เท่าทันศาสตร์ต่างๆ เพื่อจะไปสอนให้ทันกับเทคโนโลยีและความรู้ใหม่ๆ โดยที่ผ่านมาสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) (สมศ.) เปิดเผยผลการประเมินคุณภาพภายนอก ทั้งระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ระดับอาชีวศึกษาและระดับอุดมศึกษา ซึ่งพบว่ามีสถาบันการศึกษาที่ไม่ผ่านการรับรองผลคิดเป็นร้อยละ 19.59 โดยในเบื้องต้นพบว่าสถานศึกษาที่ไม่ผ่านการรับรองมีปัญหาสำคัญมาจากคุณภาพครูเป็นปัจจัยสำคัญ

ดังนั้นหากมองย้อนถึงปัญหาทางการศึกษาของเด็กไทย และการกระตุ้นเม็ดเงินเพื่อช่วยเหลือจึงอาจต้องมุ่งเน้นที่การพัฒนาบุคคลากรให้มากยิ่งขึ้น เพราะการที่บุคคลากรด้านครูยังขาดการพัฒนาทางความรู้และการศึกษา ก็จะส่งผลให้ไม่เกิดการพัฒนาทางการเรียนการสอน และทำให้เด็กไม่สนใจเรียนในที่สุด และท้ายที่สุดแล้วก็จะส่งผลให้บัณฑิตที่ผลิตออกไปนั้น ไม่สามารถเข้าสู่ตลาดแรงงานในสาขาที่ตลาดแรงงานในประเทศต้องการ และขาดแคลนแรงงานในที่สุด

Posted in การศึกษา | Tagged | Comments Off on ปัญหาทางการศึกษาของเด็กไทย

การปฏิรูประบบการศึกษาไทยปัจจุบันเพื่อพัฒนาคนให้มีคุณภาพตรงตามวัตถุประสงค์ของการศึกษา

การศึกษาในระบบเป็นการศึกษาที่กำหนดจุดมุ่งหมาย วิธีการศึกษา หลักสูตร ระยะเวลาของการศึกษา การวัดและประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขของการสำเร็จการศึกษาที่แน่นอน ที่สำคัญ ในการดำเนินกิจกรรมทางการศึกษานั้น เกิดขึ้นทั้งที่ห้องเรียน รวมถึงการเรียนรู้นอกห้องเรียน อาทิ ที่บ้าน หรือการเรียนรู้บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยยึดถือเอาห้องเรียนเป็นฐานกลางของการจัดการศึกษา การศึกษาจึงเป็นกระบวนการที่สำคัญยิ่งในการพัฒนาคน และการที่จะพัฒนาคนให้มีคุณภาพตรงตามความต้องการนั้นต้องอาศัยผลรวมของกระบวนการที่มีความ สัมพันธ์กัน คือ กระบวนการบริหารจัดการ กระบวนการจัดการเรียนรู้ รวมทั้งสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้

การปฏิรูป หมายถึงการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง แก้ไขให้ดีขึ้น หรือหมายถึงการปรับปรุงแก้ไขข้อปฏิบัติที่บกพร่องผิดพลาดที่ผ่านมากฎหรือระเบียบหรือข้อบังคับที่ปฏิบัติมานอกจากจะไม่เกิดประโยชน์แล้วยังก่อให้เกิดโทษและความเสียหายแก่ส่วนรวม  การแก้ไขดังกล่าวเป็นการแก้ไขทั้งระบบใช้การกระทำภาคปฏิบัติอย่างเป็นระบบและเป็นขั้นตอนผ่านความเห็นชอบร่วมกันหลีกเลี่ยงการใช้ความรุนแรง เพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงใหม่ที่ดีกว่า และเป็นที่ยอมรับได้ในสังคมโดยรวม

การปฏิรูปการศึกษา การปรับเปลี่ยนพัฒนาเพื่อให้การศึกษาสามารถสร้างคนดีให้กับสังคมและเป็นพลังในการพัฒนาประเทศให้สามารถแข่งขันกับนานาอารยประเทศบนพื้นฐานของวัฒนธรรมและความเป็นไทย การศึกษาเป็นกระบวนการที่ช่วยให้คนได้พัฒนาตนเองในด้านต่างๆ  ตลอดชีวิตในประเทศที่พัฒนาแล้วการพัฒนาศักยภาพของคนจะต้องนำหน้าการพัฒนาประเทศในมิติอื่นตัวอย่างประเทศที่ประสบความสำเร็จในการพัฒนา  เช่น  สหรัฐอเมริกา อังกฤษ เยอรมัน ญี่ปุ่น เกาหลี ฮ่องกง สิงคโปร์  ได้ทุ่มเทการลงทุนในการพัฒนาคนในชาติก่อนหน้าที่ประเทศจะเริ่มเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วแล้วทั้งสิ้นประเทศเหล่านี้ได้มีการปฏิรูประบบการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อพัฒนาคนในชาติให้มีความรู้และ ประสบการณ์ โดยให้การศึกษาเป็นตัวนำการพัฒนาประเทศด้านต่างๆ เพื่อคนในชาติจะได้นำความรู้และประสบการณ์ไปพัฒนาประเทศให้มีความเจริญรุ่งเรืองดังที่เรา  จะพบว่าประเทศที่พัฒนาแล้วหลายๆ ประเทศจะมีประชากรที่ได้รับการศึกษาในอัตราที่สูง

การปฏิรูประบบการศึกษาเป็นประเด็นศึกษาที่หน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนน่าจะให้ความสนใจอย่างมาก  เนื่องจากหากระบบการศึกษาไทยไม่ได้รับการปฏิรูปแม้ว่าเราจะพยายามขยายโอกาสทางการศึกษาออกไปเป็น  9  ปี  หรือ  12  ปี  ตามที่กฎหมายรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันระบุไว้ก็ตามก็จะไม่ได้ช่วยสร้างคนในชาติให้มีความรู้ความสามารถอย่างที่ควรจะเป็นในอดีตเราจะเห็นได้ว่ารัฐบาล และพรรคการเมืองที่มาจากการเลือกตั้งมักจะพิจารณาและจัดอันดับให้กระทรวงศึกษาธิการเป็นกระทรวงเกรดซีที่ไม่ค่อยมีความสำคัญมากนักเพราะเป็นกระทรวงที่มีผลประโยชน์ค่อนข้างน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับหลายๆ กระทรวงแต่ในปัจจุบัน

Posted in การศึกษา | Tagged , | Comments Off on การปฏิรูประบบการศึกษาไทยปัจจุบันเพื่อพัฒนาคนให้มีคุณภาพตรงตามวัตถุประสงค์ของการศึกษา

การปฏิรูปความรู้เชิงสร้างสรรค์ในการศึกษาสมัยใหม่

ในปัจจุบันโลกมีการแข่งขันที่สูงขึ้น โดยเฉพาะการแข่งขันด้านความรู้ ที่ครอบคลุมการแสวงหาความรู้ การแปรความหมาย ความเข้าใจในสิ่งที่เรียนรู้ในทฤษฎี ร่วมกันคิดสิ่งใหม่ๆ สร้างนวัตกรรมที่ทำให้การศึกษาก้าวหน้า โรงเรียนเป็นสถานศึกษาที่มีส่วนในการพัฒนาคนให้เกิดความรู้ในทักษะต่างๆ โรงเรียนจึงต้องสร้างบรรยากาศที่ช่วยเสริมสร้างการเรียนรู้และสังคมแห่งปัญญาที่ได้มีการวางแผนไว้

สถานศึกษานั้นสามารถใช้เป็นแหล่งเรียนรู้ ให้ข้อมูลข่าวสาร เพื่อมุ่งหวังให้ผู้เรียนได้แสวงหาความรู้และทำความเข้าใจได้ด้วยตนเองอย่างอิสระ รวมทั้งตัวผู้สอนเองก็สามารถสร้างการเรียนรู้จากสิ่งที่มีอยู่ เพื่อช่วยให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการเรียนรู้ได้ในทุกสาระการเรียนรู้ แหล่งการเรียนรู้หรือแหล่งข้อมูล ข่าวสาร รวมทั้งประสบการณ์ทั้งหลายที่ทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง จากการได้คิดเองอย่างอิสระ

ในสถานศึกษาการเรียนรู้นั้นสามารถทำได้หลายวิธีหลายรูปแบบ การเรียนรู้คือแนวทางการสร้างสรรค์ คือครีเอทีฟ ส่งผลให้เกิดความก้าวหน้า เกิดการสร้างสรรค์องค์ความรู้ การเรียนรู้ที่เกิดขึ้นใหม่จะให้ความสำคัญกับการสร้างสรรค์มากกว่า หมายความว่า เราสามารถสร้างการเรียนรู้ได้จากทุกสิ่ง ดังนั้นจึงเกิดการแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ไปทั่วโลก

การศึกษาคือการสร้างสรรค์ จากรายงานพบว่าเศรษฐกิจของประเทศจะดีได้นั้นขึ้นอยู่กับผลงานสร้างสรรค์ นั่นหมายความผลงานสร้างสรรค์นั้นมีมูลค่าค่อนข้างสูง ยิ่งถ้านับรวมทั้งโลกด้วยแล้ว จะสูงมากที่เดียว ทำให้โลกจึงเป็นโลกแห่งการเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์

ระบบการศึกษาในสมัยใหม่มีความยืดหยุ่นให้กับการศึกษาเชิงสร้างสรรค์ค่อนข้างมาก เพราะการศึกษาไม่ได้ถูกจำกัดอยู่ในห้องเรียนเพียงอย่างเดียว นอกจากนี้ยังเปิดโอกาสให้ผู้อื่นเข้ามามีส่วนร่วมในการศึกษา นอกจากนี้กฎหมายการศึกษามีการเทียบโอนการศึกษาได้ นี่คือความยืดหยุ่นทางการศึกษา เป็นการลดความแข็งของระบบการศึกษาสมัยใหม่ ที่ก่อให้เกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์

การเรียนการสอนเชิงสร้างสรรค์ และการทำงานเป็นเรื่องเดียวกัน ในประเทศไทยนั้นอาจจะยังไม่ค่อยมี แต่ในต่างประเทศเราจะพบว่า เด็กเริ่มมีความสามารถในการสร้างสรรค์ผลงานใหม่ๆ และเริ่มทำงานตั้งแต่อายุยังน้อย หากประเทศของเราสามารถพัฒนาความรู้ให้เด็กมีความคิดสร้างสรรค์นอกจากตำราเรียน สนับสนุนให้เด็กมีการเจริญเติบโตทางสติปัญญา ก็จะทำให้การเรียนและการทำงานจะเป็นสิ่งเดียวกัน

Posted in การศึกษา | Tagged , | Comments Off on การปฏิรูปความรู้เชิงสร้างสรรค์ในการศึกษาสมัยใหม่

ความรู้ ความเข้าใจ ในวัตถุประสงค์ของการศึกษารูปแบบการคิดและการเรียนรู้ต่อผู้เรียน

สำหรับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความแตกต่างระหว่างบุคคลในรูปแบบการคิดและการเรียนรู้ จะช่วยให้เข้าใจตนเองและเข้าใจในความแตกต่างระหว่างตนเองและผู้อื่นได้ และใช้ประโยชน์จากความรู้ความเข้าใจซึ่งเป็นจุดเด่นของรูปแบบการคิดและการเรียนรู้ของตนให้เกิดประโยชน์ทั้งต่อการเรียนทางวิชาการ และการทำงานในอนาคต พร้อมทั้งปรับปรุงแก้ไขจุดอ่อนของตนในรูปแบบการคิดและการเรียนรู้ที่ไม่เคยใช้ เพื่อจะได้เป็นผู้มีรูปแบบการคิดและการเรียนรู้หลายรูปแบบ โดยจะทำให้สามารถเลือกนำออกมาใช้ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ต่างๆได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ทั้งนี้เพราะถ้าผู้เรียนที่ยึดมั่นในการใช้รูปแบบการคิดและการเรียนรู้แบบใดแบบหนึ่งเพียงรูปแบบเดียว ก็จะสามารถเรียนรู้ได้ดีเฉพาะในบางรายวิชาหรือบางสถานการณ์เท่านั้น

แนวทางจากการใช้ประโยชน์จากรูปแบบการคิดและการเรียนรู้ของตนเอง
โดยการเลือกกิจกรรมการเรียนที่ตรงกับรูปแบบการคิดและการเรียนรู้ของตนเอง เพื่อจะได้ใช้ความสามารถของตนได้อย่างเต็มที่ และเลือกแหล่งความรู้ที่มีการนำเสนอในรูปแบบที่สอดคล้องกับรูปแบบการคิดของตนเอง เช่น หนังสือ การเรียบเรียงจัดระบบเนื้อหาอย่างดี รวมทั้งการจัดสภาพการณ์การเรียนให้กับตนเองให้สอดคล้องกับการเรียนรู้ของตน เช่น อ่านหนังสือในที่สงบเงียบและการสร้างแรงจูงใจภายนอกเพื่อกระตุ้นให้เกิดแรงจูงใจในการเรียน

แนวทางการพัฒนารูปแบบการคิดและการเรียนรู้ของตนเอง
โดยสำรวจรูปแบบการคิดและการเรียนรู้ที่ตนเองชอบใช้ ให้สอดคล้องกับสิ่งที่เรียน และพิจารณาว่ารูปแบบการคิด และการเรียนรู้ใดที่จำเป็นต่อการเรียนของตน และยังขาดทักษะในการใช้หรือไม่ค่อยได้นำมาใช้ นอกจากนี้แล้วการพัฒนาและปรับปรุงตนเอง โดยฝึกฝนตนเองในการใช้รูปแบบการคิดและการเรียน โดยเรียนรู้จากเพื่อนที่มีรูปแบบการคิด และการเรียนรู้ที่เราต้องการฝึกด้วยการเลือกทำงานกลุ่มหรือทำงานคู่กับเพื่อนที่มีรูปแบบการคิดต่างไปจากตน เพื่อเรียนรู้ซึ่งกันและกัน อีกทั้งต้องฝึกตนเองอีกด้วย เช่น เรียนรู้ทักษะทางสังคม ทักษะการสื่อสาร การทำงานร่วมกัน เพื่อที่งานออกมาแล้วได้ผลและมีประสิทธิภาพ

 

Posted in การศึกษา | Tagged | Comments Off on ความรู้ ความเข้าใจ ในวัตถุประสงค์ของการศึกษารูปแบบการคิดและการเรียนรู้ต่อผู้เรียน

วัตถุประสงค์ของการศึกษาที่ควรจะเป็น ตามทัศนะของเราในยุคปัจจุบัน


การศึกษา คือ กระบวนการเรียนรู้ ของคนและสังคม คนทุกคนที่มารวมกันเป็นสังคมมนุษย์ต้องเรียนรู้ไปด้วยกัน ถึงจะสร้างความเจริญก้าวหน้าให้กับสังคมและประเทศชาติ สถานศึกษาซึ่งเป็นหน่วยงานที่ให้บริการการเรียนรู้แก่ผู้เรียนโดยตรง จึงมีภารกิจมีบทบาทและความสำคัญในฐานะหน่วยงานที่จัดกระบวนการเรียนรู้ให้กับ “คน” และ “สังคม”

“การศึกษา” เน้นให้ความสำคัญกับ “ผู้จัด” แต่ “การเรียนรู้” ให้ความสำคัญกับ “ผู้เรียน” ดังนั้น บทบาทของสถานศึกษาจึงไม่ใช่ “โรงสอน” แต่เป็น “โรงเรียน”  ที่ผู้เรียนมาเพื่อการเรียนรู้ สถานศึกษาจึงต้องจึงต้องจัดการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียนและสังคม

การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่า ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ

ดังนั้นวัตถุประสงค์ของการศึกษาที่ควรจะเป็น ตามทัศนะของเราในยุคปัจจุบัน ควรส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ หมายถึง สถานศึกษาต้องจัดกิจกรรมการเรียนที่สอดคล้องกับธรรมชาติ ความสนใจ และความถนัดของผู้เรียน เนื่องจากผู้เรียนแต่ละคนมีความแตกต่างกัน มีความสนใจและความถนัดที่ไม่เหมือนกัน ถ้าโรงเรียนได้จัดการศึกษาที่สอดคล้องกับผู้เรียนแต่ละคน ประเทศของเราจะมีทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพ มีความสามารถยอดเยี่ยมและหลากหลาย สามารถคิดอย่างเป็นระบบ มีเหตุผล และเราก็สามารถแข่งขันได้ในเวทีโลก

Posted in การศึกษา | Tagged | Comments Off on วัตถุประสงค์ของการศึกษาที่ควรจะเป็น ตามทัศนะของเราในยุคปัจจุบัน